วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันตำรวจแห่งชาติ

นปี พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า กองโปลิศ โดยจ้างชาวมลายูและชาวอินเดีย เป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล ให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล








คุณธรรม 8 ประการ


หัวใจของการเรียนการสอน คือ การที่นักเรียนได้สัมพันธ์และสัมผัสกับสรรพสิ่งที่อยู่ภายในตัวเองและรอบตัว
นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำ  ฝึกวัดและประเมิน ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ได้รับการฝึกหัด ขัดเกลาทั้งกาย วาจา ใจและได้เรียนในบรรยากาศที่ปลุกฝัง ปลุกเร้าจินตนาการสร้างเสริมสุนทรียภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนการสอนไว้ว่า
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะมุงปลูกฝังด้านปัญญา
พัฒนาการคิดของผู้เรียน ให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณแล้ว
ยังมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลุกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง
เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา เป็นงานที่ผู้บริหารสถานศึกษา
จะต้องจัดในหลายด้าน ตั้งแต่วัสดุครูภัณฑ์ อุปกรณ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ

ประเพณีบุญพระเวส


                                ประเพณีบุญพระเวส

บุญพระเวส หรือบุญพระเวสสันดร หรือบุญมหาชาติ (ที่จริง มหาชาติ มีอยู่ 10 ชาติ มิใช่มีเฉพาะพระเวสสันดร ในหลวง ร. 9 ทรงเอาพระมหาชนก มานำเสนอเรื่องวิริยะบารมี พระสงฆืเรา น่าจะนำไปดัดแปลงเป็นเทศน์มหาชาติบ้าง ชาวพุทธจะได้ไม่หลงงมงาย คอยแต่พึงเลขหวย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไรที่มองไม่เห็น และตนเองไม่สามารถทำได้ จะได้เป็นชาวพุทธที่แท้เสียที) เป็นประเพณี สำคัญอย่างหนึ่งของฮีต-สิบสอง (คำว่า ฮีต กร่อนมาจากคำว่า "จารีต" คนอีสานนิยมพูดสั้น ๆ  ว่า ฮีต ซึ่งเสียง รีต หรือเสียง ร ในภาษาอีนสาน จะออกเสียงเป็น ฮ เช่น รู เป็น ฮู   รัก เป็น ฮัก แรง เป็น แฮง ฯลฯ) หรือ ประเพณีสิบสองเดือนของภาคอีสาน เนื่องจากเป็นบุญที่เทศนา เกี่ยวประวัติ ของพระโพธิสัตว์ ที่มีนามวา่า พระเวสสันดร ซึ่งเป็นชาติสุดท้าย ก่อนที่ พระองค์จะประสูติมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงนับว่าเป็นชาติที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็น


หลักจริยธรรมและคุณธรรมสำหรับครู


ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู
ในความหมายของปรัชญาจัดว่าเป็นแนวอุดมคติในการดำเนินงานใด ๆ โดยใช้ปัญญา
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ เมื่อบุคคลได้เกิดความสนใจและใฝ่หาความรู้จากวิชาปรัชญาก็ย่อมได้รับอัตถประโยชน์อย่างมากมาย พอสรุปได้ดังนี้
1. ปรัชญาสอนให้รู้จักความจริงอันสิ้นสุด เช่น พระเจ้ามีจริงหรือไม่
2. ปรัชญาสอนให้รู้จักทฤษฎีแห่งความรู้ เช่น การวิจัยจะนำไปสู่การค้นหาคำตอบได้
3. ปรัชญาสอนให้รู้จักความดีและความถูกต้อง เช่น การทำประโยชน์ให้แก่สังคมถือว่าเป็นความดี
4. ปรัชญาสอนให้รู้จักความงาม เช่น การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของสังคม อันก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นสุขใจ
5. ปรัชญาสอนให้เกิดอุดมคติในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่การงาน เช่น สอนให้บุคคลเป็นครูในอุดมคติ หรือเป็นครูที่มีอุดมการณ์ที่จะช่วยพัฒนาชนบทอย่างแท้จริง
6. ปรัชญาสอนให้รู้จักประเมินคุณค่าในพฤติกรรมของบุคคลว่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่